เผ่าไทยอีสาน มุกดาหาร

ไทยอีสาน
    เป็นชาวไทยกลุ่มใหญ่ในจังหวัดมุกดาหาร เช่นเดียวกับชาวไทยอีสานในจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ชาวไทยอีสานได้สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมานานนับหลายพันปี ตั้งแต่ขุนบรมปฐมวงศ์ของเผ่าไทย ตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าอาณาจักรล้านช้างจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนปลาย ชาวไทยอีสานได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขงตั้งแต่ พ.ศ.2231 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
เมื่อท่านพระครูโพนเสม็กนำสานุศิษย์จากอาณาจักรล้านช้างอพยพลงมาตามลำน้ำโขง แล้วแผ่ขยายออกไปตาม
ลำน้ำมูล ลำน้ำชี และลำน้ำอื่น ๆ ซึ่งแยกออกจากแม่น้ำโขง ตั้งเป็นเมืองต่าง ๆ เมืองมุกดาหารได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเมื่อพ.ศ.2313 ในสมัยกรุงธนบุรี
ชาวไทยอีสาน
ชาวไทยอีสาน ในดีตกาลนั้น เป็นักตู้สู้ชีวิต สู้
ทั้งกับภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เพราะผืนดิน
อีสานเป็น ภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย การดูแลทางด้านสุขอนามัย ของทางภาครัฐ
ไม่ค่อยทั่วถึง และหลายพื้นที่ในอดีตเป็นป่าดงดิบ
อยู่ห่างไกล ความเจริญถาพจาหนังสือ:มุกดาหาร
บุคคลิกและอุปนิสัย โดยเอกลักษณ์ นิสัยใจคอของชาวอีสานในอดีตส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ ดังจะเห็นได้ในหมู่บ้านของชาวอีสานจะมีซุ้มเล็กๆหรือเพิงเล็กๆปลูกไว้หน้า บ้านในซุ้มหรือเพิงเล็กๆนั้น
จะมีตุ่มน้ำเย็นใสสะอาดพร้อมกระบวย ไว้ให้แขกต่างบ้าน หรือใครที่เดินผ่านไปมาได้ตักดื่มกินแก้กระหาย
คนอีสาน เป็นกันเอง กับทุกคน เป็นคนจริงใจ ให้ความไว้วางใจไว้เนื้อเชื่อใจคนง่าย เพราะคนอีสานในอดีต
จะเป็นชนที่ไม่ชอบพูดโกหก หรือพูดปดมดเท็จ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามศีลห้าค่อนข้างจะเคร่งครัดในศีลธรรม ถ้าใครคนหนึ่งบอกกล่าวหรือเล่าอะไร ก็จะเชื่อตามไปเกือบทั้งหมด นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของชนชาวอีสานในอดีต
ที่มักจะถูกหลอกลวงง่าย เพราะเชื่อว่าทุกคนให้ความจริงใจต่อกันและกัน ทำให้มิจฉาชีพบางกลุ่มอาศัย
จุดนี้หลอกลวง ทำมาหากินบนความซื่อของชนชาวไทยอีสานมานักต่อนัก
เอกลักษณ์เด่น อีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานคือเป็นน้อมน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูสูง ให้ความเคารพ
นับถือต่อบุพการีให้ความเครพผู้มีพระคุณและผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก จะได้ยิน ผู้มีอายุน้อยกว่าเรียกผู้สูงอายุ
ในเกือบทุกพื้น ที่ว่า “พ่อคุณ” “แม่คุณ” คำว่า”คุณ” ที่ใ้ช้่เรียกชื่อผู้สูงอายุแทนการเรียกชื่อ กับคนที่รู้จัก
และไม่รู้จัก มีความหมายว่า “ผู้มีพระคุณ” คนอีสาน ระลึกเสมอว่า ผู้สูงอายุ เป็นผู้มีพระคุณต่อทุกคน เพราะ
ผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการ์ืการดำรงชีวิต และเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ชนรุ่นหลัง เสมอมา
ชาวอีสาน เป็นชนที่ให้ความเคารพนับถือและปฏิบัติตน เป็นพุทธมามะกะที่ดียึดถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอดีต
จนมาถึงปัจจุบันดังจะเห็นได้จากการ ทุกเทศกาลสำคัญของไทย ชนชาวไทยอีสานจะตั้งกองกฐิน ผ้าป่า
ไปทอดถวายพระที่บ้านเกิด เพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดและบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอารามต่างๆที่บ้านเกิดเมืองนอน ของตนเองเป็นเนืองนิจ คนอีสานเมื่อไปเยี่ยมเยี่ยนเพื่อนบ้านต่างถิ่น สิ่งแรกที่จะมองหานั่นคือวัดวาอาราม
หากหมู่บ้าน แห่งหนตำบลได มีวัดวาอาราม และพระอุโบสถ( สิม )สวยงดงาม จะเป็นที่เชิดหน้าชูตา
ของหมู่บ้านนั้นๆ
ความเชื่อ คนอีสานในอดีตกาลนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ ไกปืนเที่ยง การดูแลทางด้านสุขอนามัย
เป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนอีสานจึงหันไปเพิ่งภูตผี คนอีสานนั้นเชื่ิอในเืรื่อง ผี เป็นทุนเดิม
ไม่ว่าจะเป็นผี ของปู่ ย่า ตา ยาย ผีป่า ผีเขา ผีปอบ ฯลฯ ในทุกวันนี้ความเชื่อในเรื่องผี ของชาวอีสานนั้นยังมีอยู่
ยากที่จะลบล้างในความเชื่อนั้น ในขณะเดียวกันบนความเชื่อนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนสติ ไม่ให้ประพฤติผิด
ปฏิบัติชั่วแล้ว ยังทำให้เกิดประเพณที่ดีงาม งานบุญต่างๆมากมาย กับคนอีสาน ( อ่านประเพณวัฒนธรรม )