ชนเผ่าโส้ (ไทโส้)

ชนเผ่าโส้ (ไทโส้)

ชนเผ่าโส้ (ไทโส้)

คำว่า โส้ โซ่ หรือกะโซ่ เป็นคำที่เรียกชื่อชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคอีสาน ชาวโส้จะมีลักษณะชาติพันธุ์ของมนุษย์ในกลุ่มมองโกลอยด์ ตระกูลออสโตร – เอเชียติก มอญ – เขมร เป็นกลุ่มเดียวกับพวกแสก และกะเลิง โดยจากบันทึกกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ
เมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการที่มณฑลอุดรและมณฑลอีสาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ อธิบายว่ากระโซ่ คือพวกข่าผิวคล้ำกว่าชาวเมืองอื่น มีภาษาพูดของตนเอง อาศัยอยู่ในบริเวณมณฑลอุดร มีมากเป็นปึกแผ่นที่เมืองกุสุมาลย์มณฑลในจังห
วัดสกลนคร

นักภาษาศาสตร์ได้จำแนก คนโส้ออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ๆตามลักษณะของภาษา คือ กลุ่มของโส้ทะวืงที่อำเภอ
ส่องดาว จังหวัดสกลนคร กลุ่มที่สองคือกลุ่มของบรู ซึ่งเป็นโส้อีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอุบลราชธานีและมุกดาหาร และ
โส้กลุ่มสุดท้ายที่นับว่าเป็นโส้กลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือ โส้กุสุมาลย์ ที่อยู่ในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร

กะโส้ จากเมืองกุสุมาลยมณฑล (จ. สกลนคร) ใช้กระบอกไม้ไผ่กระทุ้งดิน เรียกโส้ทั่งบั้ง ประกอบร้องรำทำเพลงรอบไหเหล้าอุเล่นถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร สมัย ร.5 เสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์ วันที่ 13
มกราคม พ.ศ. 2449 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ความเชื่อและพิธีกรรมของคนโส้กุสุมาลย์
ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นพื้นที่ที่คนโส้อาศัยอยู่ดั้งเดิมตลอดมา คนโส้นับถือศรัทธาในอำนาจเหนือธรรมชาติและเชื่อว่าผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติสามารถทำให้มนุษย์เจ็บป่วยได้

          

การแต่งกายและบ้านเรือนชาวโส้

ชาย ใส่เสื้อหม้อห้อม นุ่งโสร่งผ้าไหม มีผ้าขาวม้าโพกหัว และคาดเอว
หญิง สวมเสื้อหม้อห้อมและนุ่งผ้าถุงสีดำเชิงผ้าถุงเป็นตีนจก คาดเข็มขัดเป็นลวด

การแต่งกายและบ้านเรือนชาวโส้

ชาย ใส่เสื้อหม้อห้อม นุ่งโสร่งผ้าไหม มีผ้าขาวม้าโพกหัว และคาดเอว
หญิง สวมเสื้อหม้อห้อมและนุ่งผ้าถุงสีดำเชิงผ้าถุงเป็นตีนจก คาดเข็มขัดเป็นลวด

ประเพณี/งานเทศกาลที่สำคัญ คือ งานเทศกาลโส้รำลึก เป็นงานประจำปีของชาวโส้ ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ การแสดงโส้ทั่งบั้ง จะเริ่มในตอนสายของวันขึ้น ๔ ค่ำ ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการเป็นการแสดงพิธีเยา (เชิญวิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนามหรือแซงสนาม) และพิธีเจี้ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงามเป็นจังหวะสอดคล้อง กับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารำของสาวโส้ ที่มาร่วมแสดงเป็นจำนวนมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านนานาชนิดให้แก่ผู้ไปเที่ยวชมในราคาถูก การคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถึงบริเวณงาน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ของทุกปี ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอกุสุมาลย์ การแสดงโส้ทั่งบั้ง จะเริ่มในตอนสายของวันขึ้น ๔ ค่ำ ตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่อดีต เป็นการเป็นการแสดงพิธีเยา (เชิญวิญญาณเข้าทรงคนป่วยลงสนามหรือแซงสนาม) และพิธีเจี้ยศาลารวมเข้ากันเพื่อให้เกิดรูปขบวนที่สวยงามเป็นจังหวะสอดคล้อง กับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านที่ดีดสีตีเป่าเข้ากับท่วงท่ารำของสาวโส้ ที่มาร่วมแสดงเป็นจำนวนมาก ชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านนานาชนิดให้แก่ผู้ไปเที่ยวชมในราคาถูก การคมนาคมสะดวก รถยนต์เข้าถึงบริเวณงาน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
พิธีกรรมที่สำคัญ
      การเหยา การไหว้ผีทุกข้างขึ้นและข้างแรม
ภาษีโส้ จัดอยู่ในสาขาย่อยมอญ-เขมร มีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน คำในภาษามักเป็น ๒-๓ พยางค์ และเป็นภาษาที่ไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์
แต่มีลักษณะสำคัญคือ มีลักษณะน้ำเสียงปกติและน้ำเสียงต่ำ ทุ้มเพื่อการจำแนกความหมายของคำ
     นอกจากนี้พบว่ามีชาวโส้อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ั่วไป เช่น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง อำเภอดอนตาล อำเภอคำชะอี อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อพยพมาในช่วง ร,๓ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่หลายเมืองในแถบเมืองสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัยในแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๗ มีพระอารัญอาษา หัวหน้าเผ่าโซ่ เป็นเจ้าเมืองคนแรก
การแต่งกายและการแสดง
   
กะโซ่เมื่อร้อยปีก่อน

 

  

ที่มาของข้อมูล : http://www.sakonnakhon.go.th/officeprovince/culture.html