หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่นบนกุฏิ |
ความเป็นมาของวัด เมื่อครั้งที่องค์หลวงปู่มั่นพำนัก ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยแคน ขณะนั้นท่านพระอาจารย์หลุย ( หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ) จำพรรษาอยู่ที่ บ้านหนองผือนาใน พระอาจารย์หลุยได้แนะนำชาวบ้านหนองผือให้อาราธนาหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่นี่ ชาวบ้านจึงได้เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ณ บ้านห้วยแคน ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือในเวลาต่อมา ติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๕ พรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ – ๒๔๙๒ ( อ่านรายละเอียดได้ที่ ความเป็นมาของวัดป่าบ้านหนองผือ และ ปกิณกธรรม ) |
ในอดีตองค์ท่านไม่เคยจำพรรษาซ้ำที่ไหนเป็นปีที่ ๒ เลย การที่ท่านจำพรรษาที่นี่นานเป็นพิเศษนั้น พระอาจารย์วิริยังค์ได้บันทึกถึงสาเหตุไว้ในหนังประวัติพระอาจารย์มั่นไว้ดังนี้
” … ในการที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษา เป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้จักกาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านได้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฎฐานต่อไป … เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นได้พักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ก็มีประโยชน์ที่ได้วางแผนงานขั้นสุดท้ายให้แก่คณานุศิษย์และพระคณาจารย์ของท่าน ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาทของท่านอย่างยิ่ง … “ |
ศาลาหลวงปู่มั่น |
|
|
กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ*
|
เตียง ธรรมมาสน์ และเก้าอี้ภายในกุฏิ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตเป็นผู้ต่อถวาย |
ศาลาโรงฉันหลวงปู่มั่น |
กุฏิที่หลวงตามหาบัวเคยจำพรรษา* |
สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้น หลวงพ่อชา สุภัทฺโธได้เล่าถึงบรรยากาศในช่วงที่ท่านมาศึกษาธรรมปฏิบัติกับองค์หลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือไว้ในหนังสือ ” ใต้ร่มโพธิญาณ ” ดังนี้
ทางเดินจงกรมหลวงปู่มั่น ที่ข้างกุฏิหลวงปู่ |
“…ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น…
ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน… พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่… มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดินไม่หยุดไม่พัก นั่น… เพราะจิตใจมันมีกำลัง…” |
จึงถือได้ว่าวัดป่าบ้านหนองผือในสมัยนั้นเปรียบดั่งมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา โดยมีองค์หลวงปู่มั่นเป็นพระอาจารย์ใหญ่ มีหลักสูตรคืออริยมรรคและธุดงควัตร มีกฏระเบียบคือพระธรรมวินัย ข้อวัตรต่างๆ มีปริญญาคือความพ้นทุกข์เป็นหลักชัยตามแนวทางแห่งพระบรมครูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรดาพระอาจารย์ท่านต่างๆ ที่ได้หลั่งไหลมาศึกษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือนี้ ก็คือครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระอริยสัจธรรมในเวลาต่อมานั่นเอง |
กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์ |
ทางเดินภายในวัด* |
สภาพวัดป่าบ้านหนองผือในปัจจุบัน วัดป่าบ้านหนองผือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ” วัดภูริทัตตถิราวาส ” ซึ่งเป็นนามที่ตั้งโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) ตามฉายาของหลวงปู่มั่น เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์แก่องค์ท่านที่ได้เมตตาจำพรรษาที่นี่นานที่สุด ในปัจจุบันเสนาสนะต่างๆ ในสมัยหลวงปู่มั่นก็ยังคงรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ได้แก่ กุฏิพร้อมทางเดินจงกรม ศาลาโรงธรรม ศาลาฉันภัตตาหาร และของใช้เล็กๆ น้อยๆ ขององค์ท่าน สภาพบรรยากาศวัดก็ยังคงความสงบวิเวกอยู่เช่นเดิม ป่าไม้ยังคงสภาพสมบูรณ์มีกุฏิกรรมฐานซ้อนตัวอยู่จุดต่างๆ ภายในวัด ภายใต้ร่มไม้ที่เปรียบดั่งหลังคาธรรมชาติร่มเย็นตลอดทั้งวัน เป็นรมมณียสถานสำหรับการภาวนาอีกแห่งหนึ่งสำหรับนักปฏิบัติทั้งหลาย |
อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ประดิษฐานบนศาลาใหญ่ วัดป่าบ้านหนองผือ |
ศาลาในเขตสังฆาวาส* |
ศาลาใหญ่หลังปัจจุบัน |
บิณบาตยามเช้า* |
พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน |
ปัจจุบันมีท่านพระครูสุทธธรรมมาภรณ์ ( พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านยังคงรักษาข้อวัตรต่างๆ ไว้เช่นเดียวกับสมัยหลวงปู่มั่น รวมถึงพยายามจำกัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีแต่พอดี เพื่อให้วัดแห่งนี้ยังคงสภาพเดิมต่อไป
ในทุกวันที่ ๑๐ – ๑๑ พฤศจิกายนของทุกปีจะมีจัดงาน วันน้อมรำลึกครบรอบคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งในงานจะได้มีการแสดงพระธรรมเทศนาปฏิบัติธรรมเพื่อน้อมรำลึกถึงองค์หลวงปู่ |
ที่มา :: http://luangpumun.org/wara/nangpep.html